top of page

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง


“โรคลิมโฟม่า” หรือที่รู้จักกันในชื่อ ”มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” เป็นภาวะการณ์เจริญเติบโตอย่างผิดปกติของระบบต่อมน้ำเหลือง ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ในผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและได้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ที่ได้รับสารเคมีบางชนิด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma) มีลักษณะเฉพาะ คือ จะพบ Reed-Sternberg cell ซึ่งไม่มีในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดอื่น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ประมาณ 25,000 คน 2. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) แบ่งออกเป็น 30 ชนิดย่อย โดยอาศัยอัตราการเจริญของเซลล์มะเร็ง จะสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ 2.1 ชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indent) มีการแบ่งตัวเซลล์มะเร็งค่อนข้างช้า ผู้ป่วยมีอาการค่อยเป็นค่อยไป แต่มักจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดด้วยวิธีการในปัจจุบัน 2.2 ชนิดรุนแรง (Aqqressive) มีอัตราการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตภายใน 6 เดือน-12 ปี แต่มีข้อดี คือ ถ้าหากรักษาทันท่วงทีโอกาสที่จะหายขาดก็มีมาก อาการเริ่มต้นที่พบบ่อย

- คลำพบก้อนที่บริเวณต่าง ๆ เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ หรือเต้านม โดนที่ก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่จะไม่มีอาการเจ็บ ซึ่งต่างจากการติดเชื้อที่มักจะมีอาการเจ็บที่ก้อน

- มีไข้ หนาว สั่น เหงื่อออกมากตอนกลางคืน คันทั่วร่างกาย

- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ

- ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก ต่อทอนซิลโต

- ปวดศีรษะ (พบในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)

อาการในระยะลุกลาม - ซีด มีเลือดออกง่าย เช่น จุดเลือดออกตามตัว หรือจ้ำเลือด - ในรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองภายในช่องท้อง จะมีอาการแน่นท้อง หรืออาหารไม่ย่อย ท้องโตขึ้นจากการมีน้ำในช่องท้อง * ต่อมน้ำเหลืองที่โตจะมีผลกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือด หรือเส้นประสาท อาจทำให้เกิดอาการชา หรือปวดตามแขน ขาได้ การวินิจฉัย จะสามารถทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา

แนวทางการรักษาในปัจจุบัน

1. การเฝ้าติดตามโรค ใช้ในกรณีผู้ป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไป อยู่ในระยะที่ 1 และไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ และระหว่างการเฝ้าติดตามโรคผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด หรือตรวจทางรังสีเป็นระยะ ๆ ตามแพทย์สั่ง

2. การใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) ซึ่งจะออกฤทธิ์ไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยไปรบกวนการแบ่ง ตัวของเซลล์มะเร็ง แพทย์จะเป็นผู้เลือกชนิดของยาเคมีบำบัด โดยทั่วไปจะใช้หลายขนานร่วมกัน หรือ อาจให้ร่วมกับการรักษาด้วยแอนติบอดี้ (Monoclonal Antibodies)

3. การใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ในการจับกับโปรตีนบนผิวหนังของเซลล์มะเร็ง หลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อมากำจัดเซลล์มะเร็ง ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยในการทำลายเซลล์มะเร็งได้ในบริเวณกว้าง และส่งผลกระทบเพียงน้อยนิดต่อเนื้อเยื่อปกติ

4. การฉายรังสี (Radiation Therapy) คือการรักษาด้วยรังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

5. การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Transplantation) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ การปลูกถ่ายฯ โดยอาศัยเซลล์ของผู้บริจาค และการปลูกถ่ายฯ โดยอาศัยเซลล์ของผู้ป่วยเอง

ปัจจุบันสามารถปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากกระแสเลือด แทนที่จะใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก ช่วยให้ผู้บริจาคไม่ต้องเจ็บตัวในการเจาะไขกระดูก

* แพทย์จะพิจารณาจากชนิดและระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งอาจจะใช้วิธีเดียวหรือแบบผสมผสานก็ได้ วิทยาการรักษาในปัจจุบัน ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะหายขาดได้ ถ้าหากเป็นระยะเริ่มแรก และได้รับการรักษาอย่างครบถ้วน รวมถึงร่างกายมีการตอบสนองดี จะสามารถหยุดการรักษาได้เกินกว่า 5 ปี เพราะโดยปกติ ผู้ป่วยจะเข้าใจว่าหายขาดเมื่อได้รับการรักษาอย่างครบถ้วนแล้ว การดูแลรักษาสุขภาพ ผู้ป่วยบางรายจะมีสภาพจิตใจที่ไม่ค่อยดีนัก และอาการของโรคอาจส่งผลให้เกิดภาวะ ทุพโภชนาการ.....ดังนั้นผู้ป่วยและญาติจึงควรใส่ใจเรื่องอาหารของผู้ป่วยให้มาก และอาหารที่เหมาะควรมีลักษณะดังนี้ - สุก สะอาด อุณหภูมิไม่สูงเกินไป - อ่อนนุ่ม ง่ายต่อการเคี้ยวและกลืน - อาหารที่ให้สารอาหาร พลังงาน และเส้นใยสูง สามารถรับประทานได้ แต่ควรระวังผักสดควรล้างให้สะอาด ส่วนผลไม้ ควรเลือกรับประทานชนิดที่ต้องปอกเปลือก เพื่อป้องกันสารตกค้างบริเวณเปลือก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามสภาพร่างกายของผู้ป่วย เป็นสิ่งที่พึงกระทำเป็นกิจวัตร ซึ่งจะมีผลโดยรวมต่อร่างกายในการช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานดีขึ้น และช่วยกำจัดโรคที่ยังคงหลงเหลืออยู่ภายหลังจากที่ได้รับการรักษา

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะให้ความสำคัญเรื่องอาหารการกินแล้ว แต่เรื่องการดูแลสุขภาพจิต ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย เพราะหากบุคคลในครอบครัวและเพื่อน ๆ หมั่นให้กำลังใจ ผู้ป่วยก็จะมีสุขภาพจิตที่ดี และแน่นอนว่าย่อมส่งผลทางบวกต่อสุขภาพไม่มากก็น้อยครับ

ขอขอบคุณบทความจาก | ผศ.นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล

สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภ.อายุรศาสตร์ | Faculty of Medicine Siriraj Hospital | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Retrieved from: http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=732

#มะเรง #คณะแพทยศรราชมหาวทยาลยมหดล #หมอศรราช #ศรราชปยะ #การรกษามะเรง #รพศรราชพรเมยม #ศรราชแพง #โรงพยาบาลศรราชปยมหาราชการณย #มะเรงตอมนำเหลอง #ศรราชใหม #ระบบภมคมกน #ปยมหาราชการณย #นำเหลองเสย #ศรราชหร #เกยวกบมะเรง #ประดงเลอด #กรงเทพทพโอสถ #ศรราชปยมหาราชการณย #ยาประดง #ศนยมะเรงศรราชปยมหาราชการณย #siph #พลเรอเอกสวรรณตนสวรรณรตน #บณฑบรรลอฤทธ

Comments


bottom of page