ร่างกายคนเรานอกจากจะมีอวัยวะน้อยใหญ่แล้ว ภายในร่างกายก็ยังมีระบบการทำงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันหลายระบบ โดยแต่ละระบบล้วนมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนั้น หากการทำงานของระบบใดอยู่ในภาวะผิดปกติ บกพร่อง หรือทำงานได้ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรแล้ว ก็จะเป็นสาเหตุให้อวัยวะส่วนอื่นๆ หรือระบบอื่นๆ ในร่างกายทำงานผิดเพี้ยนตามมาได้อีกเช่นกัน
“ระบบน้ำเหลือง” มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์มาก เนื่องจากมีหน้าที่ช่วยรักษาความสมดุลของระบบอื่นๆภายในร่างกาย กล่าวคือ ระบบน้ำเหลืองทำงานร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อต้านและทำลายเชื้อโรค รวมถึงการขับของเสียต่างๆ ในระบบร่างกาย เพื่อที่น้ำเหลืองจะถูกส่งกลับไปยังระบบไหลเวียนของเลือดได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ระบบน้ำเหลืองยังทำงานร่วมกับระบบการไหลเวียนของเลือด เพื่อที่จะลำเลียงสารอาหาร ออกซิเจน และฮอร์โมนจากเซลล์เม็ดเลือดต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในเนื้อเยื่อของระบบร่างกายภายใน ทั้งยังช่วยในการขับของเหลวส่วนเกิน ของเสีย เซลล์เม็ดเลือดที่ตายแล้ว เชื้อโรคต่างๆ เซลล์มะเร็ง และสารพิษให้ออกจากช่องว่างเนื้อเยื่อและจากร่างกายของเราอีกด้วย
อาการที่ใครหลายคนเรียกว่า “น้ำเหลืองเสีย” หรือ “น้ำเหลืองไม่ดี” เป็นอาการที่คนโบราณเรียกติดปากต่อๆ กันมา โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาการของเลือดเป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุหลากหลาย ทั้งจากการหมุนเวียนของเลือดในร่างกายที่ไม่ดีพอ ทำให้ผิวหนังมีเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ ไม่แข็งแรง ต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ได้ไม่ดีตามสมควร และสาเหตุประการอื่นๆ เช่น จากสารเคมี จากอนุมูลอิสระรวมถึงสารก่อมะเร็ง โดยภาวะน้ำเหลืองเสียนั้นแสดงอาการได้ในหลายลักษณะ เช่น
ผื่นตุ่มพอง ที่บางครั้งกลายเป็นหนอง: คนบางคนมีลักษณะผิวหนังที่ง่ายต่อการกระตุ้น เพียงเกา อุณหภูมิเปลี่ยน หรือเมื่อสัมผัสโดยตรงกับสารที่แพ้ ผิวหนังก็จะปล่อยสารก่อภูมิแพ้ขึ้น ทำให้มีลักษณะบวม เห่อ และ/หรือ คัน และหาก เกาในบริเวณที่มีอาการคันก็จะเกิดแผล จนบางครั้งถึงขั้นติดเชื้อที่ผิวหนังได้เมื่อเชื้อโรคที่อยู่บริเวณผิวหนังอาศัยจังหวะนี้ แพร่เข้าไปในบาดแผลได้
ภาวะน้ำเหลืองเสียที่เกี่ยวเนื่องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย: ลักษณะอาการที่พบ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ผิวหนังทั่วไป เช่น การแพ้ภูมิตนเอง (SLE) โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) โรคเรื้อนกวาง
น้ำเหลืองเสียที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ: ลักษณะอาการที่พบ ได้แก่ โรคงูสวัด เริม ซึ่งเป็นโรคที่มีตุ่มน้ำพองใสเกิดขึ้น พร้อมกับอาการปวดแสบปวดร้อน โดยมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส รวมถึงโรคกลากเกลื้อน และโรคผิวหนังอื่นๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
การที่บางคนมีแผลและอาการคันเมื่อได้รับหรือสัมผัสสารวัตถุต่างๆ เช่น สารเคมี สารจากสัตว์หรือพืชบางชนิด รวมถึงสารก่อภูมิแพ้ที่มีในสิ่งแวดล้อม เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้
ผื่นแพ้ในเด็ก: เด็กบางรายพบว่ามีผื่นแพ้ที่ผิวหนัง เป็นแผลพุพองโดยมิได้เกาหรือมีแผลมาก่อน ซึ่งแท้จริงแล้วมีสาเหตุมาจากกระบวนการแพ้ในชั้นผิวหนัง ทำให้ผิวหนังอักเสบ โดยมักพบในเด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคเหล่านี้
สำหรับการรักษา จำเป็นต้องพิจารณาจากสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการน้ำเหลืองเสีย และลักษณะของอาการ ซึ่งมีทั้งที่แสดงออกทางผิวหนังเพียงอย่างเดียว และ/หรือ ความไม่สมดุลของระบบในร่างกายอื่นๆ เช่น หากเป็นอาการที่แสดงทางผิวหนังซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อชนิดใด ก็สามารถรับประทานยาที่กำจัดเชื้อประเภทนั้น หรือหากเกิดจากโรคทางระบบภูมิคุ้มกันก็ควรรับประทานอาหารและพืชที่มีประโยชน์ มีสารช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า โรคน้ำเหลืองไม่ดีตามความเชื่อและความเข้าใจของคนโดยทั่วไปนั้น มักเป็นการอธิบายโรคจากลักษณะบาดแผลโดยมิได้พิจารณาจากสาเหตุ ทำให้การรักษาไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น การนำยารักษาอาการแพ้จำพวกสเตียรอยด์ไปใช้ทากับตุ่มที่เกิดจากการติดเชื้อ เป็นต้น
ท้ายสุดนี้ ขอเสนอแนะวิธีการรักษาระบบน้ำเหลืองและปรับสมดุลระบบภายในร่างกายโดยวิธีทางธรรมชาติโดยผู้มีอาการน้ำเหลืองเสียควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะโปรตีนจากปลา ผัก ผลไม้ รวมถึงพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติฟอกโลหิต เพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย และมีสารออกฤทธิ์กำจัดเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงพยายามออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อเลือดลมไหลเวียนดี ผิวหนังซึ่งเป็นหน้าต่างบานแรกที่บ่งชี้สุขภาพก็จะมีสุขภาพแข็งแรงตามไปด้วย
#นำเหลองเสย #ระบบภมคมกน #มะเรงตอมนำเหลอง #ยาประดง #กรงเทพทพโอสถ #ศรราช #ปยมหาราชการณย #ศรราชปยะ #เบาหวาน #ศรราชแพง #มะเรง #โรงพยาบาลศรราชปยมหาราชการณย #โรงพยาบาลบำรงราษฎร #พนธกรรม #เนองอก #ระบบนำเหลองบกพรอง #siph #ศรราชใหม #การรกษามะเรง #โรคผวหนง #หมอศรราช #ศรราชปยมหาราชการณย #เกยวกบมะเรง #ประดงเลอด #คณะแพทยศรราชมหาวทยาลยมหดล #ศนยมะเรงศรราชปยมหาราชการณย #โรงพยาบาลศรราช #รพศรราชพรเมยม #ศรราชหร #พลเรอเอกสวรรณตนสวรรณรตน #บณฑบรรลอฤทธ
Comments